|
"เชฟ คู่แฝด เครื่องเสียง" โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ เครื่องเสียงที่เสียงดีไพเราะนับเป็นสุดยอดแห่งศาสตร์และ " ศิลป์ " นักออกแบบเครื่องเสียงระดับโลก หรือ แค่ระดับนักดัดแปลง(audiophile) ต่างทราบดีว่า อะหลั่ย ชิ้นส่วน แต่ละตัว ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ทางไฟฟ้าอีเล็คโทรนิคส์ หากแต่ยังมีอะไรลึกซึ้งกว่านั้นมาก ต่างยี่ห้อ ต่างเกรด "เสียงกลับต่างกันได้แบบหน้ามือหลังมือเลย" ( และแน่นอน ราคาก็ต่างกันเป็น 10 เป็น 100 เท่า!) การบัดกรี ทิศทางการวางลงในวงจร (แม้จะเป็นแบบไร้ขั้วก็ตาม) การใช้ร่วมกับอะหลั่ยตัวอื่นๆ ชนิดของวงจรที่ควรเลือกใช้ การปรับตั้งแรงดันไฟ การปรับระดับสัญญาณส่งทอดจากวงจรภาคหนึ่ง ไปอีกภาคต่อไป ( level matching) การจัดค่าอุปกรณ์ภาคขยายซ้าย/ขวาให้เท่ากันเปะๆ ( match pair ) การป้องกันการรบกวนกันเองภายในและจากภายนอก สุดท้าย เมื่อจับทุกๆอย่างมาทำงานร่วมก้นจริง สุ้มเสียงสุดท้ายจะออกมาอย่างไร คนออกแบบต้อง"จูนเป็น ฟังเป็น" ด้วย เทียบกับการปรุงของพ่อครัวหรือ "เชฟ" ไม่ต่างกันเลย เชฟต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบ (เกรด ,ที่มา,ชาติตระกูล, การปลูกหรือเลี้ยงดู สายพันธุ์ อายุ, ความสด ) การใส่ลงไป( ปริมาณ, ระยะเวลา ก่อนอะไร หลังอะไร ทิ้งช่วงนานแค่ไหน ไฟแรงแค่ไหน ค่อยๆแรงลำดับอย่างไร, ต้องหมัก ก่อนไหมอย่างไร) อุปกรณ์เครื่องครัว ชนิดให้ตรงงาน คุณภาพ ผู้ผลิต ราคาห่างกันได้เป็น100 เท่า ต่อให้กางตำราปรุง ถ้าบอกแค่วัตถุดิบ ไม่บอกรายละเอียดยิบดังกล่าว ไม่มีทางออกมาอร่อยได้เลย และเหนือสิ่งอื่นใด คนปรุงรู้ไหม อย่างไรเรียกว่าน่ากิน อร่อย ตอนเอามาเสิร์ฟ ควรเรียงลำดับการจัดคิวอาหารลงโต๊ะอย่างไร(ถ้าทำได้) ควรให้ดื่มชาขมก่อนไหม( ล้างรส ติดที่ลิ้นก่อน อาหารจะออกหวานปะแร่มๆหน่อยไปหมด) เรืยนเป็นเชฟ(นักปรุง) ไม่ใช่แค่ "ทำได้" จึงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี และหมดเงินเป็นล้านบาท ( แค่ในเมืองไทย) แต่เมื่อจบมาแล้ว และมีฝีมือ เงินเดือน หลักแสนบาทขึ้นไป เชฟระดับพระกาฬน่าจะถึง 2-3 แสนบาท ประเภทคนกินเข้าคิวรอโต๊ะเป็นชั่วโมงๆ เจ้าของร้านเอาใจยิ่งกว่าพ่อ( เชฟระดับตัวเงินตัวทองกันเลย) แย่หน่อยที่ วงการเครื่องเสียง ความยากลำบาก ละเอียดอ่อนสุดๆ ไม่แพ้เชฟอาหาร ทำงานก็ยากกว่ามากด้วย แต่ เชฟเครื่องเสียง รายได้ กระจอกกว่าเชฟอาหารอย่างเทียบกันไม่ได้ แถมของต้นแบบเสร็จแล้ว นายทุนก็มักเขี่ยออก มากมายนัก ! ( จบแบบหักมุมอย่างนี้แหละ ! ) www.maitreeav.com |